ความรู้ >> ระดับการสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน
KNOWLEDGE
ความรู้

การทำงานในพื้นที่ที่มีเสียงดังต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดภาวการณ์สูญเสียการได้ยิน และการสูญเสียการได้ยินจากการทำงานที่พบบ่อยที่สุด คือ การสูญเสียการได้ยินแบบ Sensory Hearing Loss โดยเกิดจากการได้รับสัมผัสกับเสียงดังที่เกิดจากสภาพแวดล้อมการทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ ติดต่อกัน

ระดับการสูญเสียการได้ยินหรือความพิการและอาการ พิจารณาได้จากระดับการได้ยินของการนำเสียงทางอากาศ ทำการตรวจวัดการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ (Pure tone) ที่ความถี่ 500 , 1,000 , 2,000 เฮิร์ตซ์ (Hz) ที่เป็นช่วงความถี่ของการสนทนา โดยการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ Audiometer ซึ่งในปี 2561 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แบ่งระดับของการได้ยิน ดังนี้

   ระดับการได้ยินน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25 เดซิเบล เป็นการได้ยินปกติ

   ระดับ 1 การได้ยิน 26-40 เดซิเบล มีภาวะหูตึงเล็กน้อย

   ระดับ 2 การได้ยิน 41-55 เดซิเบล มีภาวะหูตึงปานกลาง

   ระดับ 3 การได้ยิน 56-70 เดซิเบล มีภาวะหูตึงมาก

   ระดับ 4 การได้ยิน 71-90 เดซิเบล มีภาวะหูตึงอย่างรุนแรง

   ระดับ 5 การได้ยิน 91 เดซิเบล ขึ้นไป มีภาวะหูหนวก

นอกจากระดับความดังของเสียงจะมีผลต่อการสูญเสียการได้ยินแล้ว ลักษณะของเสียงก็ยังมีผลต่อการเกิดความผิดปกติด้วย แม้ว่าหูของคนเรามีระบบที่จะป้องกันอันตรายจากเสียงดังอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าเราทำงานในพื้นที่ที่มีอันตรายจากเสียงดัง ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ  ก็อาจส่งผลกระทบต่อระบบการได้ยินของเราได้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นในทันที แต่จะส่งผลในระยะยาว เช่น เกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ก็อาจเป็นได้

 

ที่มา: เนื้อหาบางส่วนจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

สงวนลิขสิทธิ์ 2565  โดย บจก.นิวเทค อินซูเลชั่น