ผลงาน >> แก้ปัญหาเสียงรบกวนจากเครื่องคอมเพรสเซอร์
Portfolio
ผลงาน

ปัญหา

อาคารสำนักงานแห่งหนึ่งถูกร้องเรียนจากบ้านที่อยู่ติดรั้วอาคารว่าได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากเสียงของเครื่องคอมเพรสเซอร์ของระบบทำความเย็นในอาคาร เป็นเสียงรบกวนในเวลากลางวันขณะที่บุคลากรในอาคารมีการใช้เครื่องปรับอากาศ เมื่อเข้าสำรวจหน้างานพบว่าแหล่งกำเนิดเสียงหลักมาจากเครื่องคอมเพรสเซอร์จำนวนหลายชุดซึ่งทำหน้าที่อัดสารทำความเย็น ส่งผลให้มีเสียงดังอื้ออึงทั้งภายในและภายนอกบริเวณอาคาร  ระยะจากบ้านผู้ได้รับผลกระทบถึงพื้นที่ตั้งแหล่งกำเนิดเสียงวัดได้ประมาณ 9 เมตร

สาเหตุ

จากการเข้าสำรวจปัญหาหน้างานพร้อมด้วยเครื่องมือเฉพาะทางสำหรับการตรวจสอบปัญหาเสียงรบกวนและความสั่นสะเทือน พบว่าแหล่งกำเนิดเสียงหลักที่ก่อให้เกิดความรำคาญคือตัวเสื้อคอมเพรสเซอร์และระบบท่อทำความเย็นที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารทำความเย็น และยังมีแหล่งกำเนิดเสียงรองคือเสียงจากการกระพือของครีบระบายความร้อนและเสียงใบพัดของพัดลมตัดอากาศขณะมีการระบายความร้อน ส่งผลให้ลักษณะเสียงที่เกิดขึ้นมีความถี่เสียงทั้งในช่วงความถี่ต่ำถึงความถี่สูง และมีลักษณะเป็นเสียงรบกวนเฉพาะความถี่ (Tonal Noise) ทำให้ระดับค่าการรบกวนในเวลากลางวันสูงถึง 24 dBA

แนวทางการปรับปรุง

  • วัดเสียงแบบแยกความถี่เสียงรอบเครื่องคอมเพรสเซอร์
  • ตรวจวัดค่าระดับการรบกวนทางเสียงในพื้นที่บ้านผู้ได้รับผลกระทบ
  • จัดทำแผนที่ความถี่เสียง (octave contour) เพื่อยืนยันที่มาของเสียง
  • วิเคราะห์ข้อมูลเสียง ก่อน-หลัง ปรับปรุง ด้วยโปรแกรมคณิตศาสตร์ทางเสียง
  • จัดทำตัวแบบจำลองโดยการใช้วัสดุและวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

วิธีการปรับปรุง

ภายหลังการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลโดยละเอียดทำให้ทราบว่าเครื่องบดย่อยฟิล์มมีกำลังเสียง (SWL: Sound Power Level) มากที่สุดในบรรดาแหล่งกำเนิดเสียงของพื้นที่นั้น แต่การลดเสียงเครื่องบดฟิล์มเพียงจุดเดียวจะทำให้ระดับเสียงลดลงไม่มากนัก เนื่องจากยังมีแหล่งกำเนิดเสียงอื่นที่ยังไม่ได้ทำการปรับปรุงอยู่ ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณในขณะนั้นทำให้เจ้าของพื้นที่สามารถทำการปรับปรุงได้เพียงแค่เครื่องบดฟิล์มเพียงจุดเดียว แต่ต้องการให้ระดับเสียงลดลงมากที่สุด ทาง NTi จึงได้เสนอและทำการปรับปรุงด้วยการติดตั้งตู้ครอบลดเสียง (acoustic enclosure) พร้อมด้วยระบบจัดการความร้อน (heat management system) เพื่อป้องกันมิให้มอเตอร์ของเครื่องบดฟิล์มเกิดความร้อนสะสมในขณะทำงาน ซึ่งจะสร้างความเสียหายแก่ลูกค้าตามมาได้

ผลการปรับปรุง

  • ค่าระดับการรบกวนที่บ้านผู้ร้องลดลงจาก 25 dBA เหลือ 5 dBA
  • ระดับเสียงบริเวณเครื่องคอมเพรสเซอร์ลดลงจาก 88 dBA เหลือ 60 dBA
  • ค่าเสียงจากเครื่องคอมเพรสเซอร์ขณะทำงานอยู่ในค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด