บริการหาแนวทางลดเสียง
ปัญหา
สถานประกอบกิจการหรือโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งประสบปัญหาเกี่ยวกับเสียงดังเกินค่ามาตรฐาน ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2561 เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานในแต่ละวัน ซึ่งมีสาระสำคัญคือตลอดระยะเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน (TWA8) ลูกจ้างหรือพนักงานจะรับสัมผัสเสียงดังได้ไม่เกิน 85 dBA หากเกินกว่านี้นายจ้างต้องทำการควบคุมเสียงด้วยมาตรการทางวิศวกรรมและปิดประกาศผลการปรับปรุงในพื้นที่ให้ลูกจ้างทราบ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของทางโรงงานหรือสถานประกอบกิจการโดยเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (บางครั้งรวมถึงเจ้าหน้าที่อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน) ไม่ทราบว่าจะจัดการกับปัญหาเสียงดังในโรงงานหรือเสียงดังเกินค่ามาตรฐานนั้นอย่างไร
สาเหตุ
เจ้าของพื้นที่หรือแหล่งกำเนิดเสียงดังเกินค่ามาตรฐานไม่มีเครื่องมือสำหรับตรวจวัดระดับความดันเสียงแบบแยกความถี่เสียง (Integrated Sound Level Meter) หรือเครื่องวัดระดับเสียงสะสม (Noise Dosimeter) หรือเครื่องมือเฉพาะทางที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermal Imaging Camera) เครื่องวัดความเร็วลม (Anemometer) และเครื่องวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน (Vibration Analyzer) เป็นต้น เมื่อขาดซึ่งเครื่องมือที่แม่นยำในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ปัญหาก็ไม่สามารถกระทำได้ ส่งผลให้ไม่มีการวินิจฉัยหรือหาแนวทางในการลดเสียงเกิดขึ้นตามมา
แนวทางการควบคุมเสียงของ NTi
ทำไมต้องใช้บริการของ NTi