บริการ >> ตรวจวัดเสียงในโรงงาน
Service
บริการ

บริการตรวจวัดเสียงในโรงงาน
Industrial Noise Measurement

โรงงานหรือสถานประกอบกิจการที่มีปัญหาเสียงดังจะต้องเฝ้าระวังการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากการสัมผัสเสียงของพนักงาน ตามกฎกระทรวงแรงงาน เรื่องมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 (ราชกิจจานุเบกษา 17 ตุลาคม 2559) รวมถึงประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องมาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน (ราชกิจจานุเบกษา 26 มกราคม 2561) ซึ่งมีเนื้อหาโดยสังเขปคือ ระดับเสียงเฉลี่ย 8 ชั่วโมงการทำงาน (TWA8) ต้องไม่เกิน 85 dBA ระดับเสียงสูงสุดของเสียงกระทบหรือกระแทกต้องไม่เกิน 140 dBA และการสัมผัสเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ต้องไม่เกินกว่า 115 dBA

 

กฎหมายและมาตรฐานของกระทรวงแรงงานเกี่ยวกับเสียง

  1. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559
  2. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องมาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน
  3. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องการคำนวณระดับเสียงที่สัมผัสในหู เมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
  4. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ
  5. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ

NTi ยินดีให้บริการ "ตรวจวัดเสียงในโรงงาน" เพื่อจัดทำข้อมูลระดับเสียงที่ลูกจ้างหรือพนักงานสัมผัส สำหรับนำมาใช้ในการประเมินการสัมผัสว่าเกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ในส่วนของระดับเสียงเฉลี่ยตลอดการทำงานแต่ละวัน (TWA: Time Weighted Average) ระดับเสียงกระแทกสูงสุด (Lpeak: Peak Sound Pressure Level) ระดับเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Lmax: Continuous Steady Noise)

กลุ่มผู้ใช้บริการ

  • สถานประกอบกิจการที่มีแหล่งเสียงดังเกินค่ามาตรฐาน
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับ
  • ผู้มีส่วนรับผิดชอบที่ต้องดำเนินการมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
  • คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

วิธีการทำงาน

  • เก็บข้อมูลเสียงหน้างาน
  • วิเคราะห์ข้อมูลเสียงตามพารามิเตอร์ต่างๆ
  • จัดทำรายงานผลการตรวจวัดเสนอต่อผู้ว่าจ้าง

 

เครื่องมือ

  • เครื่องวัดเสียงแบบแยกความถี่ IEC 61672 class-1 class-2
  • เครื่องกำเนิดเสียง (sound calibrator) IEC 60942 class-1
  • ขาตั้งเครื่องวัดเสียง 

 

สิ่งที่จะได้รับ

  • ทราบระดับค่าเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงาน (TWA)
  • ทราบระดับค่าเสียงกระทบหรือกระแทกสูงสุด (Lpeak)
  • ทราบระดับค่าเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (Lmax)