ผลงาน >> ตัวแบบจำลองทางเสียงที่กระทบกับชุมชน
Portfolio
ผลงาน

หลักการและเหตุผล

มีหลายกรณีที่ปัญหามลภาวะทางเสียงมีความซับซ้อนจนไม่สามารถที่จะตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้ในทันที เช่น โรงงานมีลักษณะเป็นแหล่งกำเนิดเสียงแบบพื้นที่ มีแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนหลายจุด แต่ละจุดมีลักษณะเสียงไม่เหมือนกัน แหล่งกำเนิดเสียงมีระดับความสูงต่ำไม่เท่ากัน มีเสียงดังแบบต่อเนื่องและเสียงดังแบบช่วงๆ การควบคุมเสียงจึงต้องใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เพื่อมาทำนายระดับเสียงที่เปลี่ยนไปในสภาพการจำลองแบบต่างๆ ผ่านตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้านเสียง หรือ Noise Simulation Models

ความจำเป็น

การทำตัวแบบจำลองทางเสียงที่กระทบกับชุมชนจะมีความจำเป็นสำหรับการวางแผนงานควบคุมเสียงในหลายกรณี เช่น เครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิดเสียงทำงานตลอดเวลาโดยไม่มีวันหยุด ค่าพารามิเตอร์ของกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดเสียงมีหลายค่าและมีความไม่แน่นอน แหล่งกำเนิดเสียงหรือโรงงานที่ถูกร้องเรียนอยู่ใกล้หรืออยู่ติดกับโรงงานที่มีเสียงดังคล้ายกันทำให้แยกแยะไม่ได้ว่าเสียงใดกันแน่ที่รบกวนชุมชน หากเรามีข้อมูลดังกล่าวจะทำให้สามารถเชื่อมโยงปัญหาและแนวทางการแก้ไขได้ตรงจุด โดยการใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

แนวทางการทำงาน

  • เก็บข้อมูลเสียงในพื้นที่ที่มีการรบกวนหรือได้รับผลกระทบ
  • จัดทำแผนที่เสียง (noise contour) และแผนที่ความถี่เสียง (octave contour)
  • จัดทำ frequencies correlation analysis พร้อม noise simulation models
  • เปรียบเทียบผลการจำลองของแผนที่เสียง ก่อนและหลัง การปรับปรุง
  • เสนอแนวทางการควบคุมเสียงที่ทำได้จริง เหมาะกับปัญหาและงบประมาณ

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • ทราบระดับเสียงพื้นฐาน ค่าระดับการรบกวน และความดังเสียงในที่ทำงาน
  • ทราบถึงแหล่งกำเนิดเสียง กำลังงานเสียง พร้อมลักษณะเสียงที่เกิดขึ้น
  • แผนที่ระดับความดันเสียงและแผนที่ความถี่เสียง เพื่อบอกขอบเขตของปัญหา
  • ตัวแบบจำลองทางเสียงตามแนวทางการควบคุมเสียง เพื่อหาวิธีการปรับปรุงที่ตรงจุด
  • ลดความผิดพลาดในการตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ตรงประเด็น ไม่ต้องลองผิดลองถูก