กรณีศึกษาของเสียงรบกวนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
"การจัดการเสียงรบกวนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟของสถานประกอบการที่ถูกร้องเรียน สามารถทำได้ด้วยการเก็บข้อมูลความดัง ความถี่เสียงมาวิเคราะห์ ได้วิธีแก้ไขโดยติดตั้งวัสดุดูดกลืนเสียง ติดตั้งไซเลนเซอร์เพื่อลดเสียงจากท่อไอเสียและใช้อคูสติกลูเวอร์ช่วยลดเสียงโดยยังคงการระบายอากาศได้ เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เสียงรบกวนลดลงไม่สร้างความรำคาญให้ชุมชน"
กรณีนี้เป็นตัวอย่างของปัญหาเสียงรบกวนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟ (Gen Set) ขนาด 500 KVA ในพื้นที่ชนบท ซึ่งสถานประกอบกิจการแห่งนี้ถูกร้องเรียนจากชาวบ้านโดยรอบ อันมีสาเหตุจากเสียงรบกวนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยสถานที่ตั้งของสถานประกอบกิจการ ตั้งอยู่ในบริเวณสวนยางพาราและไร่สัปปะรดขนาดใหญ่ ในพื้นที่มีบ้านเรือนที่พักอาศัยของชาวบ้านอยู่ร่วมกันประมาณ 20 หลังคาเรือน เสียงที่รบกวนจะดังช่วงเวลากลางคืน เนื่องจากบริเวณนั้นมักมีปัญหาเรื่องกระแสไฟฟ้าตกบ่อยในเวลากลางคืน ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานทุกครั้งที่มีเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ ส่งผลให้ชาวบ้านไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้ จึงได้มีการแจ้งกับทางเจ้าของสถานประกอบกิจการให้หาทางแก้ไขปัญหาจากเหตุรำคาญดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ซึ่งระดับเสียงพื้นฐานในเวลากลางคืน (Nighttime Baseline Sound Level) เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมินผลกระทบของเสียงรบกวนต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไประดับเสียงพื้นฐานในเวลากลางคืนควรอยู่ในระดับต่ำ โดยในพื้นที่ชนบท ระดับเสียงพื้นฐานกลางคืนควรอยู่ที่ประมาณ 30-40 เดซิเบลเอ (dBA) ในพื้นที่พักอาศัยเมือง ระดับเสียงพื้นฐานกลางคืนควรอยู่ที่ประมาณ 40-50 เดซิเบลเอ (dBA) ในพื้นที่บริเวณใกล้ถนนสายหลักหรือพื้นที่อุตสาหกรรม ระดับเสียงพื้นฐานกลางคืนอาจสูงถึง 50-60 เดซิเบลเอ (dBA) หากระดับเสียงพื้นฐานกลางคืนสูงเกินค่ามาตรฐานเหล่านี้ จะส่งผลกระทบต่อการนอนหลับและสุขภาพของผู้พักอาศัย โดยองค์กรสากล WHO ได้มีการแนะนำให้ระดับเสียงกลางคืนไม่ควรเกิน 45 เดซิเบลเอ (dBA) เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว
ทาง NTI ได้ลงพื้นที่ทำการเก็บข้อมูลเสียงรบกวนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จากการวัดค่าระดับการรบกวนของเสียงในยามวิกาล (ช่วงเวลา 22:00-06:00 น.) เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน พบว่าค่าระดับการรบกวนสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมากและเป็นเสียงดังรำคาญที่ไม่สามารถนอนหลับได้ ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัยในบริเวณโดยรอบ โดยเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจะมีความยาวต่อเนื่องและนานตามระยะเวลาที่ไฟฟ้าดับ เมื่อทดลองฟังเสียงในระยะทางต่างๆกัน พบว่าความดังเสียงสามารถได้ยินไปไกลเกินกว่าระยะ 50 เมตร ซึ่งนับว่าดังไปไกลมาก ทำให้ผู้ที่ได้ผลกระทบมีหลายหลังคาเรือน
ในการลงพื้นที่ NTI ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับความดังและความถี่เสียงเมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเครื่องปั่นไฟทำงาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะข้อมูลเหล่านี้ช่วยในการระบุแหล่งที่มา รวมถึงลักษณะของเสียงรบกวนและการพิจารณาวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม โดยมีขั้นตอนการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เสียงรบกวน ดังนี้
1. การเก็บข้อมูลระดับความดังเสียง (Sound Level Measurement) ใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง (Sound Level Meter) เพื่อวัดระดับความดังเสียงในหน่วยเดซิเบลเอ (dBA) ในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการร้องเรียนจากชุมชน จะเก็บข้อมูลในช่วงเวลาต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงาน (ช่วงเวลากลางคืน)
2. การเก็บข้อมูลความถี่เสียง (Frequency Analysis) ใช้เครื่องมือแยกความถี่เสียง (Frequency Analyzer) เพื่อเก็บความถี่เสียงในหน่วยเฮิรตซ์ (Hz)และวิเคราะห์สเปกตรัมของเสียง (Sound Spectrum) เพื่อระบุความถี่ที่มีปัญหามากที่สุด
3. การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลความดังเสียงที่ได้มาวิเคราะห์สเปกตรัมของเสียงเพื่อระบุแหล่งที่มาของเสียงรบกวนที่มีความถี่สูงและส่งผลกระทบต่อชุมชน
4. สร้างกราฟหรือแผนภูมิเพื่อแสดงระดับความดังเสียงและความถี่เสียงในแต่ละพื้นที่ และช่วงเวลาการนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขปัญหาจากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลความดังและความถี่เสียง NTI สามารถพิจารณาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม ดังนี้
- การติดตั้งวัสดุดูดกลืนเสียง/แผ่นซับเสียง (Absorptive Materials) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดค่าพลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เสียงส่งผ่านออกสู่ภายนอกมีระดับที่ลดลง
- การลดเสียงจากท่อไอเสียของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรงด้วยการติดตั้งไซเลนเซอร์แบบดูดกลืนเสียง (Absorptive Silencer) เป็นการกำจัดเสียงดังที่แหล่งกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ
- การใช้ช่องระบายลมแบบบานเกร็ดลดเสียง (Acoustic Louvers) ช่วยสกัดกั้นเสียงขณะที่ยังสามารถระบายอากาศได้ตามความจำเป็น
จากรายงานหลังการปรับปรุงด้านการควบคุมเสียงรบกวนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ปรากฏว่ามาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับเสียงรบกวนลดลงจนไม่สร้างความรำคาญให้แก่ชุมชนโดยรอบสถานประกอบกิจการอีกต่อไป การแก้ไขปัญหาด้านเสียงรบกวนสามารถทำได้ เมื่อดำเนินการอย่างถูกต้องครบถ้วน ก็สามารถลดผลกระทบจากเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจให้ทุกฝ่าย