แนวทางแก้ปัญหาเสียงดังจากพัดลมเติมอากาศ
“แนวทางแก้ปัญหาเสียงดังจากพัดลมเติมอากาศ โดย NTI มีแนวทางแก้ปัญหาเสียงดังจากพัดลมเติมอากาศมาแนะนำเพื่อเป็นแนวทาง ดังนี้ 1. วัดค่าระดับการรบกวนตามที่กฎหมายกำหนด 2. แยกความถี่เสียง 3. คำนวณ (Heat Load) 4. ติดตั้งพร้อมกับวัดเสียง Before – After / วัดอุณหภูมิ การดำเนินการตามแนวทางที่กล่าวมานั้นจะช่วย ลดปัญหาเสียงรบกวนจากพัดลมเติมอากาศในโรงงาน และลดผลกระทบต่อชุมชนในบริเวณโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด”
หลายโรงงานประสบปัญหาถูกร้องเรียนจาก เสียงรบกวนของพัดลมเติมอากาศ (Root Blowers) เนื่องจากที่ตั้งของแหล่งกำเนิดเสียงประเภทนี้ส่วนใหญ่ จะอยู่ติดกับบ่อบำบัดน้ำเสียหรือขอบที่ดินของโรงงาน (ทั้งด้านข้างและด้านหลัง) ซึ่งมักจะเป็นอาณาเขตที่ติดกับที่ดินของชาวบ้านหรือผู้ได้รับผลกระทบทางเสียง อีกทั้งพัดลมเติมอากาศส่วนใหญ่จะมีการทำงานตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดปัญหาเสียงรบกวนทั้งในเวลากลางวัน (06.00 - 22.00 น.) และเวลากลางคืน (22.00 - 06.00 น.) ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
NTi มีแนวทางแก้ปัญหาเสียงดังจากพัดลมเติมอากาศ ดังนี้
1. วัดค่าระดับการรบกวนตามที่กฎหมายกำหนด
- ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงการรบกวน ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และระดับเสียงสูงสุดที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2567 หรือ
- ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง กำหนดวิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน และระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวนค่าระดับเสียงขณะมีการรบกวน และค่าระดับการรบกวน พ.ศ.2565
2. แยกความถี่เสียง
- เพื่อคำนวณค่าการลดทอนเสียง หรือเรียกว่าค่า Sound Transmission Loss (TL)
- เลือกวัสดุที่จะแก้ปัญหาเสียง เช่น ตู้ครอบลดเสียง ห้องกันเสียง ผนังกันเสียง
3. คำนวณ (Heat Load)
- เพื่อเลือกระบบจัดการความร้อนที่เหมาะสมให้แก่ระบบลดเสียง
- หากมีการจัดการความร้อนที่ไม่เหมาะสม พัดลมเติมอากาศอาจเกิดความเสียหายได้
4. ติดตั้งพร้อมกับวัดเสียง Before – After / วัดอุณหภูมิ
- หลังการติดตั้งแล้วเสร็จ ให้วัดระดับความดันเสียงอีกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบกับเสียงก่อนปรับปรุง
- อุณหภูมิหลังการติดตั้งระบบลดเสียง ต้องไม่เกินกว่าที่ออกแบบไว้ (ไม่ควรเกิน 10 องศาเซลเซียส)