วัดเสียงเพื่อส่งรายงาน Vs วัดเสียงเพื่อแก้ปัญหา
"ในการเลือกที่ปรึกษาด้านเสียงและความสั่นสะเทือนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้: 1. Non-Certified Provider: ผู้ที่ไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานหรือภาครัฐ 2. Experienced Professional but Non-Certified Provider: ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการเสียงและความสั่นสะเทือน แต่ยังไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานหรือภาครัฐ 3. Certified Professional Provider: ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงและความสั่นสะเทือนแบบมืออาชีพได้รับการรับรองจากหน่วยงานหรือภาครัฐ มีเอกสารรับรองที่เป็นหลักฐานในการทำงานอย่างถูกต้อง"
ผู้ประสบกับปัญหาเสียงดังเกินค่ามาตรฐานหรือเสียงรบกวนส่วนหนึ่งมีความเข้าใจว่า สามารถใช้ข้อมูลเสียงจากใครก็ได้มาวางแผนในการหาแนวทางลดเสียงหรือเลือกวัสดุที่เหมาะกับปัญหาได้เลย ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากผู้ให้บริการเก็บข้อมูลเสียงหรือตรวจวัดเสียงในประเทศไทย จะมีผู้ให้บริการอยู่ 2 ประเภท คือ
1. วัดเสียงเพื่อจัดทำและส่งรายงานตามที่กฎหมายกำหนด
เช่น วัดเสียงเฉลี่ยต่อเนื่อง 24 ชม. วัดเสียงรบกวนกลางวันและกลางคืน วัดเสียงทางด้านอาชีวอนามัยภายในโรงงาน เมื่อวัดเสียงเสร็จแล้วก็สามารถนำข้อมูลเสียงที่ได้มาจัดทำรายงานเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าได้เลย
2. วัดเสียงเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงพร้อมรับประกันผล
เช่น วัดเสียงเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาเสียงรบกวน หรือแก้ปัญหาเสียงเกินค่ามาตรฐานในพื้นที่ทำงาน เมื่อเก็บข้อมูลเสียงเสร็จแล้ว จะต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลเสียงและข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อหาวิธีการลดเสียงที่ทำได้จริง การเลือกใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพ สำหรับนำมาออกแบบระบบลดเสียงให้มีความเหมาะสมกับงบประมาณและลดเสียงได้จริง พร้อมสรุปผลระดับเสียงภายหลังการแก้ไขปรับปรุง จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาจัดทำเป็นรายงานส่งมอบให้แก่ผู้ว่าจ้างต่อไป
ความแตกต่างของผู้ให้บริการทั้ง 2 ประเภท มีดังนี้
1. เครื่องมือ
1.1) ผู้ให้บริการประเภทที่ 1 ใช้เครื่องวัดเสียงทั่วไปในระดับ Class1 หรือ Class2 ตามประเภทการตรวจวัดตามที่กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ โดยเครื่องวัดเสียงไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นแยกความถี่เสียง
1.2) ผู้ให้บริการประเภทที่ 2 มีหน้าที่เก็บข้อมูลเสียงเพื่อหาแนวทางลดเสียงพร้อมรับประกันระดับเสียงที่ลดลง จึงต้องใช้เครื่องมือที่มีฟังก์ชั่นแยกความถี่เสียงได้ เช่น Octave หรือ 1/3 Octave หากเป็นงานเสียงที่ละเอียดมากๆ อาจต้องใช้ FFT และสำหรับบางปัญหาอาจต้องใช้เครื่องวัดเสียงระดับ Infrasound หรือวัดในย่านความถี่เสียง 1-20 Hz
รวมไปถึงความสามารถของเครื่องวัดในการทำ Wave Recording เพื่อใช้แยกแยะเสียงต่างๆออกจากกันได้ด้วย นอกจากเครื่องมือวัดเสียงแล้วยังต้องมีกล้องถ่ายภาพความร้อน เครื่องวัดความเร็วลม เครื่องวิเคราะห์ความสั่นสะเทือน โดรน และซอฟท์แวร์เฉพาะทางสำหรับการทำตัวแบบจำลองด้วย
2. บุคลากร
2.1) ผู้ให้บริการประเภทที่ 1 วัดเสียงเพื่อจัดทำและส่งรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ตรวจวัดและจัดทำรายงานต้องเป็นบุคลที่จบ ป.ตรีทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
2.2) ผู้ให้บริการประเภทที่ 2 วัดเสียงเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงพร้อมรับประกันผล ใช้บุคลากรเหมือนประเภทที่ 1 และต้องมีบุคลากรเฉพาะด้านเข้ามาร่วมงานด้วย เช่น วิศกรเครื่องกล นักสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม รวมถึงผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ควบคุมมลพิษเสียงและความสั่นสะเทือน
3) วิธีการวัดหรือการเก็บข้อมูล
3.1) ผู้ให้บริการประเภทที่ 1 วัดเสียงเพื่อจัดทำและส่งรายงานตามที่กฎหมายกำหนด โดยส่วนใหญ่จะวัดและรายงานออกมาเป็นค่าเสียงเฉลี่ยจาก Leq L90, Lmin, Lmax เป็นต้น
3.2) ผู้ให้บริการประเภทที่ 2 วัดเสียงเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงพร้อมรับประกันผล จะมีพารามิเตอร์การเก็บข้อมูลเสียงที่มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น Annoyance, Octave, 1/3 Octave, FFT, Peak, Min-Max, Lstatistics, vibration และ Tonal Noise
4. การจัดทำรายงาน
4.1) ผู้ให้บริการประเภทที่ 1 จัดทำรายงานตามกฎหมาย เช่น ข้อมูลเสียงที่ได้มานั้น เป็นเสียงรบกวนหรือไม่รบกวน เสียงเกินค่ามาตรฐานหรือไม่เกินค่ามาตรฐาน ตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น
4.2) ผู้ให้บริการประเภทที่ 2 นอกจากต้องจัดทำรายงานผลระดับเสียงตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังต้องมีเนื้อหาที่อธิบายถึงแนวทางการลดเสียงด้วยมาตรการทางวิศวกรรมด้วย เช่น วิธีการคำนวณค่าเสียงก่อนและหลังปรับปรุง หลักการเลือกใช้วัสดุ การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้านเสียง ค่าใช้จ่ายในการลดเสียงแต่ละแนวทาง รวมถึงการรับประกันระดับเสียงที่ลดลง