ความรู้ >> แก้ปัญหาเสียงดังในโรงงาน...แต่ไม่มีข้อมูลเสียง
KNOWLEDGE
ความรู้

แก้ปัญหาเสียงดังในโรงงาน...แต่ไม่มีข้อมูลเสียง

แก้ปัญหาเสียงดังในโรงงาน...แต่ไม่มีข้อมูลเสียง หากไม่มีข้อมูลเสียงหรือข้อมูลไม่ครบถ้วนนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการชี้บ่งสาเหตุของปัญหาเสียงดัง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นหรือภายหลังการลงทุนปรับปรุงไปแล้ว พบว่าไม่ได้ผล ระดับเสียงไม่ได้ลดลงอย่างที่ต้องการ ทำให้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า การเก็บข้อมูลจริงหน้างานมาทำการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางลดเสียง จึงเป็นวิธีการที่ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดเสียงได้จริง และแก้ปัญหาเสียงดังในโรงงานได้อย่างยั่งยืน”

พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งติดต่อเข้ามาที่บริษัท แจ้งความต้องการให้ทราบว่าต้องการลดเสียงเครื่องจักรในพื้นที่การผลิตที่ทำให้พนักงานรับสัมผัสเสียงเกินค่ามาตรฐาน (Overdose) ข้อมูลที่ทางลูกค้ามีคือค่าเฉลี่ยเสียงในพื้นที่ 8 ชม.และค่า dose ที่พนักงานได้รับ (เกินกฎหมายทั้งคู่) และทางลูกค้ากำลังมองหาบริษัทที่จะเข้าไปทำการลดเสียงเครื่องจักรนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ที่รับงานจะต้องรับประกันระดับเสียงภายหลังการปรับปรุงให้ต่ำกว่า 80 dBA ด้วย

ทางฝ่ายวิศวกรรมงานเสียงของ NTi ก็ได้แนะนำไปว่า ลูกค้ามีข้อมูลผู้รับเสียงแล้ว แต่ยังขาดข้อมูลสำคัญคือข้อมูลเสียงของแหล่งกำเนิดเสียงหรือเครื่องจักร ไม่ว่าจะเป็น ลักษณะเสียง (Waveform) ความถี่เสียง (Octave Bant) ความถี่รบกวน (Dominant Frequency) รวมไปถึงระดับเสียงกระแทก (Impulsive Level) และ ระดับสูงสุด (Lpeak) ซึ่งข้อมูลที่กล่าวมาล้วนมีความสำคัญในการออกแบบแนวทางลดเสียง การเลือกวัสดุกันเสียงที่เหมาะสมกับปัญหานี้ แต่ทางลูกค้าได้แจ้งความจำนงค์ไม่ประสงค์จะเก็บข้อมูลเสียงตามที่ได้แนะนำมาข้างต้น ทางลูกค้าต้องการบริษัทที่เข้ามารับแก้ปัญหาและสามารถรับประกันผลให้ได้เลยโดยไม่ต้องเก็บข้อมูลเสียงใดๆ

จะแก้เสียงดัง แต่ไม่มีข้อมูลเสียงของแหล่งกำเนิดเสียง ปัญหาอยู่ตรงนี้

1) คุณจะชี้บ่งหรือฟันธงไม่ได้ (Source Localization)

 

1.1) ถ้ามีเครื่องจักรเครื่องเดียว ดังมาจากส่วนไหนของเครื่องนั้น

1.2) ถ้ามีหลายเครื่อง เครื่องไหนที่ดังสุดหรือเครื่องไหนบ้างที่ต้องปรับปรุง 

1.3) ถ้าพื้นที่ติดกัน มีแหล่งกำเนิดเสียงทั้งซ้าย-ขวา จะแน่ใจได้อย่างไรว่าแก้ด้านซ้ายแล้วจะจบ เพราะด้านขวาที่ไม่ได้แก้ก็ยังทำงานและมีเสียงดังอยู่ อาจจะทะลุมาแล้วทำให้ด้านซ้ายเกินก็ได้

2) คุณอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น

ตัวอย่าง เช่น แยกสัดส่วนของ Direct Sound และ Reverberation ไม่ได้ ทำให้ไม่มีข้อมูลว่าจะใช้วิธีการดูดกลืนเสียงที่อาคาร หรือว่าจะใช้วิธีการกันเสียงที่แหล่งกำเนิดดี หรือว่าต้องทำทั้งสองอย่าง ก็เลยทำแบบเหวี่ยงแหไปก่อน หรือทำแล้วไม่ได้ผล ก็กลับมาทำใหม่เรื่อยๆ

3) เลือกวัสดุไม่ได้

4) คำนวณค่าการลดทอนเสียงหรือระดับเสียงที่ลดลงไม่ได้

5) กรณีที่จำเป็น ไม่สามารถทำ Noise Simulation ได้

6) ประเมินผลความสำเร็จของโครงการไม่ได้

7) แก้ปัญหาด้วยการคาดเดา ไม่มีหลักการและเหตุผลมารองรับความเป็นไปได้ของโครงการ