ความรู้ >> รูปแบบ Noise Contour Map
KNOWLEDGE
ความรู้

รูปแบบ Noise Contour Map

รูปแบบและขนาดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ตามประกาศของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ปี พ.ศ. 2561 ได้กำหนดรูปแบบและขนาดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ในแต่ละพื้นที่ที่มีเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบลเอ โดยกำหนดให้ในแต่ละพื้นที่มีป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดังและเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ดังนี้ 1.รูปแบบและขนาดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map), 2.  รูปแบบและขนาดของป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดัง, 3.รูปแบบและขนาดเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ”

1. รูปแบบและขนาดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) มีลักษณะเป็นแผนที่เสียง

ใช้เพื่อแจ้งเตือนบุคคลที่เข้าไปในพื้นที่เพื่อให้ทราบว่า ในแต่ละพื้นที่มีเสียงดังระดับใด เพื่อนำไปสู่การใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่เหมาะสม โดยมีระเบียบของป้ายเตือน ดังนี้ 

1.1 ช่องไฟระหว่างตัวอักษรต้องไม่แตกต่างกันมากกว่าร้อยละ 10 ของข้อความทั้งหมด 

1.2 ลักษณะของตัวอักษรต้องดูเรียบง่าย ไม่เขียนแรเงา หรือมีลวดลาย 

1.3 ความสูงของตัวอักษรมีความสูงอย่างน้อย 20 มิลลิเมตร และความกว้างของตัวอักษรต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ของความสูงของตัวอักษร 

1.4 ข้อความสามารถกำหนดเป็นภาษาอื่น ๆ ได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเมียนมา ภาษาลาว และภาษากัมพูชา แต่ต้องมีข้อความที่เป็นภาษาไทยกำกับไว้ด้วย 

1.5 แผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ต้องเห็นได้อย่างชัดเจนภายใต้ความสว่างทุกสภาวะ

2. รูปแบบและขนาดของป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดัง มีข้อกำหนด ดังนี้

2.1 องค์ประกอบของป้ายบอกระดับเสียงและระวังอันตรายจากเสียงดัง ประกอบด้วย สัญลักษณ์ระวัง อันตราย (Safety Alert Symbol) ค่าสัญญาณ (Signal Word) สัญลักษณ์ความปลอดภัย (Safety  Symbol) ข้อความพื้นที่ที่มีอันตรายจากเสียงดัง การแสดงระดับความดังเสียง และการป้องกัน  อันตรายจากการสัมผัสเสียงดัง (Word Message) 

2.2 ช่องไฟระหว่างตัวอักษรต้องไม่แตกต่างกันมากกว่าร้อยละ 10 ของข้อความทั้งหมด 

2.3 ลักษณะของตัวอักษรต้องดูเรียบง่าย ไม่เขียนแรเงา หรือมีลวดลาย

 

 

2.4 ความสูงของตัวอักษรหรือตัวเลขที่แสดงค่าสัญญาณ (Signal Word) และระดับความดังเสียงมี ความสูง อย่างน้อย 60 มิลลิเมตร และความสูงตัวอักษรทั่วไปมีความสูงอย่างน้อย 20 มิลลิเมตร และ ความกว้าง ของตัวอักษรต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของความสูงของตัวอักษร  

2.5 รูปสัญลักษณ์และข้อความสามารถกำหนดเป็นรูปแบบอื่น ๆ ได้ แต่ต้องสื่อความหมายว่าพื้นที่มีอันตรายจากเสียงดัง การแสดงระดับความดังเสียง และการป้องกันอันตรายจากการสัมผัสเสียงดัง 

2.6 ข้อความสามารถกำหนดเป็นภาษาอื่น ๆ ได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเมียนมา ภาษาลาว และ ภาษากัมพูชา แต่ต้องมีข้อความที่เป็นภาษาไทยกำกับไว้ด้วย

2.7 ป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ ระวังอันตรายจากเสียงดัง ต้องเห็นได้อย่างชัดเจนภายใต้ความสว่าง ทุกสภาวะ

3. รูปแบบและขนาดเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

3.1 พื้นที่สีฟ้าต้องครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของพื้นที่ทั้งหมดของเครื่องหมาย 

3.2 ช่องไฟระหว่างตัวอักษรต้องไม่แตกต่างกันมากกว่าร้อยละ 10 ของข้อความทั้งหมด 

3.3 ลักษณะของตัวอักษรต้องดูเรียบง่าย ไม่เขียนแรเงา หรือมีลวดลาย 

3.4 ความกว้างของตัวอักษรต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของความสูงของตัวอักษร 

3.5 ความกว้าง ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของความสูง  

3.6 รูปสัญลักษณ์และข้อความสามารถกำหนดเป็นรูปแบบอื่น ๆ ได้ แต่ต้องสื่อความหมายว่าเป็นการป้องกัน อันตรายจากการสัมผัสเสียงดัง เช่น ต้องสวมที่ครอบหูลดเสียง ต้องสวมปลั๊กลดเสียง เป็นต้น 

3.7 ข้อความสามารถกำหนดเป็นภาษาอื่น ๆ ได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเมียนมา ภาษาลาว และ ภาษากัมพูชา แต่ต้องมีข้อความที่เป็นภาษาไทยกำกับไว้ด้วย 

3.8 เครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลต้องเห็นได้อย่างชัดเจน ภายใต้ความสว่างทุกสภาวะ