เสียงเกินค่ามาตรฐานในโรงงาน เริ่มจัดการอย่างไรดี
“เสียงเกินค่ามาตรฐานในโรงงาน เริ่มจัดการอย่างไรดี เสียงที่เกินค่ามาตรฐานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นปัญหาที่ต้องการการจัดการอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ในการจัดการ เสียงที่เกินค่ามาตรฐาน ทางบริษัทควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1) ต้องทราบการรับสัมผัสเสียงของพนักงาน (noise dose) 2) ชี้บ่งแหล่งกำเนิดเสียงให้ได้ (Source localization) 3) แยกความถี่เสียงหรือทำผังความถี่เสียงออกมาได้ยิ่งดี 4) พิจารณาผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานกับผังความถี่เสียง 5) นำส่งข้อมูลให้ที่ปรึกษาหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ควบคุมเสียงคำนวณหาค่าการลดทอนเสียง”
- เสียงเกินค่ามาตรฐานในที่นี้หมายถึง เสียงเกินค่ามาตรฐานทางด้านอาชีวอนามัยฯ (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) ไม่ได้หมายถึงเสียงทางสิ่งแวดล้อมที่ไปกระทบกับชุมชนนอกโรงงาน
- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2561 ห้ามพนักงานสัมผัสเสียงเกิน 85 เดซิเบลเอ ตลอดระยะเวลา 8 ชั่วโมงทำงาน (83 เดซิเบลเอ ตลอดระยะเวลา 12 ชั่วโมงทำงาน) และหากต้องการลดระดับเสียงที่พนักงานสัมผัส ทาง NTI แนะนำให้จัดการตามแนวทางนี้
1) ต้องทราบการรับสัมผัสเสียงของพนักงาน (noise dose) ด้วยว่าเกินหรือไม่ (เกินมาเท่าไหร่)
2) ชี้บ่งแหล่งกำเนิดเสียงให้ได้ (Source localization)
3) แยกความถี่เสียงหรือทำผังความถี่เสียงออกมาได้ยิ่งดี
4) พิจารณาผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานกับผังความถี่เสียง
5) นำส่งข้อมูลให้ที่ปรึกษาหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ควบคุมเสียงคำนวณหาค่าการลดทอนเสียง
การจัดการเสียงที่เกินค่ามาตรฐานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทควรให้ความสำคัญเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสุขภาพให้กับพนักงานทำงานในโรงงาน โดยได้รับผลกระทบทางเสียงให้น้อยที่สุด