ความรู้ >> Noise-Control Feasible Study ควรได้ข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง
KNOWLEDGE
ความรู้

จ้างทำ Noise-Control Feasible Study ควรได้ข้อมูลสำคัญอะไรบ้าง

"Noise Control Feasible Study หรือ “การศึกษาความเป็นไปได้ในการลดเสียง เป็นการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเน้นการป้องกันและควบคุมปัญหาเสียงรบกวนไม่ให้กระทบต่อผู้รับเสียงทั้งในและนอกโรงงาน ขั้นตอนการทำงานเริ่มจากการสำรวจแหล่งกำเนิดเสียงรวบรวมข้อมูลเสียง เช่น ระดับความดันเสียง ความถี่ ความยาวของคลื่นเสียง และระดับกำลังเสียง และข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดเสียง ข้อมูลจะถูกนำมาวิเคราะห์และแปรผลเพื่อเทียบกับมาตรฐานหรือกฎหมาย และจะสร้างตัวแบบจำลองวิธีการลดเสียง (Noise Simulation) เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาต่อไป"

Noise Control Feasible Study หรือ “การศึกษาความเป็นไปได้ในการลดเสียง” มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นเรื่องการป้องกันและควบคุมปัญหาเสียงรบกวนไม่ให้กระทบต่อผู้รับเสียงทั้งในและนอกโรงงาน วิธีการทำงานจะเริ่มจากการเข้าสำรวจแหล่งกำเนิดเสียงที่หน้างาน สำรวจสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ปฏิบัติงานของผู้ได้รับผลกระทบด้านเสียง รวบรวมข้อมูลเสียงทั้งระดับความดันเสียง ความถี่เสียง ความยาวของคลื่นเสียง ทิศทาง และระดับกำลังเสียง รวมไปถึงวิธีการทำงานและข้อมูลของแหล่งกำเนิดเสียง ก่อนนำข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมได้มาทำการวิเคราะห์และแปรผล จากนั้นจึงนำผลที่ได้ไปเทียบกับมาตรฐานหรือข้อกำหนดของกฎหมาย และทำตัวแบบจำลองวิธีการลดเสียงแต่ละแนวทาง เพื่อให้ผู้ตัดสินใจได้ใช้ข้อเท็จจริงทั้งหมดที่มีในการแก้ปัญหาต่อไป

สำหรับปัญหาเสียงดังเกินค่ามาตรฐานหรือเสียงดังรบกวนที่มีผลกระทบในวงกว้างและปัญหามีความซับซ้อนหรือยากต่อการควบคุมเสียง บริการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดเสียง หรือ Noise Control Feasible Study จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุของปัญหา แนวทางการปรับปรุง ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาดำเนินการของแต่ละแนวทางรวมไปถึงระดับเสียงที่ลดลงภายหลังการปรับปรุงผ่านการแสดงผลในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้านเสียง (Noise Simulation Models)

การจ้างทำ Noise Control Feasible Study ควรได้ข้อมูลสำคัญดังนี้

1. ข้อมูลเสียงพื้นฐาน ที่ระบุถึงสาเหตุของปัญหา เช่น ระดับเสียงรบกวน ความถี่เสียง ประเภทเสียง นอกจากนี้ หากเป็นเสียงในโรงงานที่เกินค่ามาตรฐาน และไปกระทบกับพนักงานในพื้นที่ทำงาน ควรจะมีข้อมูลการรับสัมผัสเสียงสะสมที่ตัวบุคคลด้วย

2. ความเป็นไปได้หรือแนวทางการลดเสียงที่สามารถทำได้จริง และมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน เช่น หากเราดำเนินการแก้ปัญหาเสียงไม่ตรงจุด หรือไม่สามารถทำได้จริง อาจทำให้ระดับเสียงไม่ลดลงตามกฎหมาย และทำให้เสียเวลาและงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์

3. “Simulation” หรือ ตัวแบบจำลองของแต่ละแนวทางการลดเสียงที่อ้างอิงมาตรฐานในการจำลอง เช่น มาตรฐาน ISO9613-2 สำหรับการคำนวณ Acoustic Attenuation Loss (Industry) เป็นต้น

4. Conceptual design พร้อมระบุประเภทของวัสดุลดเสียง และแนวทางการติดตั้งชัดเจน

5. การรับประกันระดับเสียงที่ลดลงหากทำตามแนวทางที่แนะนำ เช่น ระดับเสียงลดลงตามที่กฎหมายกำหนด ไม่เกินค่ามาตรฐานในโรงงาน ไม่เป็นเสียงรบกวน และไม่เป็นเหตุรำคาญทางเสียง เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป การศึกษาความเป็นไปได้ในการลดเสียงหรือ Noise Control Feasible Study เป็นการวิเคราะห์และวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาเสียงที่มีความซับซ้อนหรือแหล่งกำเนิดเสียงที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยวิธีการทั่วไป เช่น เมื่อมีแหล่งกำเนิดเสียงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหลายจุดในพื้นที่เดียวกัน หรือเจ้าของแหล่งกำเนิดเสียงไม่สามารถระบุแหล่งกำเนิดเสียงที่แท้จริงได้ Noise Control Feasible Study จะช่วยให้ผู้ว่าจ้างหรือคณะทำงานเข้าใจถึงความซับซ้อนของปัญหาเสียงและวางแผนการลดเสียงโดยไม่เกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ต่อด้านอื่น