ความรู้ >> มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน
KNOWLEDGE
ความรู้

มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน | Newtech Insulation

มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน หรือที่ (NIOSH) เรียกว่า โครงการป้องกันภาวะการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน เป็นโครงการที่กำหนดขึ้นตามกฎหมายเพื่อให้สถานประกอบการต่างๆ สามารถป้องกันและลดจำนวนผู้มีภาวะสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากเสียงดัง โดยมีข้อกำหนดกฎหมายของประเทศไทยคือ ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561 กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่สนับสนุนให้สถานประกอบกิจการต่างๆ ที่มีสภาพแวดล้อมเสียงดัง ได้จัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินขึ้น”

โดยหากมีพื้นทำงานในโรงงานหรือสถานประกอบกิจการที่ลูกจ้างต้องรับสัมผัสเสียงในระยะเวลา 8 ชั่วโมงทำงานต่อวัน เกินกว่า 85 เดซิเบลเอ ให้นายจ้างจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินเป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วย

1. นโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน

2. การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)

3. การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)

4. หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง

  เมื่อการรับสัมผัสเสียงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ นายจ้างต้องจัดให้มีการเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสํารวจและตรวจวัดระดับเสียง การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ แล้วแจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ โดยมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน

2. แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวัน

3. ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายในสามสิบวัน

 จากผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน หากพบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่ง ตั้งแต่สิบห้าเดชิเบลขึ้นไปที่ความถี่ใดความถี่หนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

1. จัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ใช้ที่ครอบหู (Earmuffs) ที่อุดหู (Ear Plugs)

2. เปลี่ยนงานให้ลูกจ้าง หรือหมุนเวียนสลับหน้าที่ระหว่างลูกจ้างด้วยกัน ให้นายจ้างจัดทำเเละติดแผนที่เเสดงระดับเสียงในแต่ละพื้นที่ รวมถึงติดป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดัง

ที่สำคัญ นายจ้างต้องจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน รวมถึงประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง และบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการ เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าห้าปี

การดำเนินการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินเป็นสิ่งสำคัญที่สถานประกอบการควรใส่ใจ เพื่อป้องกันและลดการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากเสียงดังในสถานที่ทำงาน โดยการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรการที่กำหนดไว้จะช่วยให้สถานประกอบการมีสภาพแวดล้อมทำงานที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับพนักงานของตน การเฝ้าระวังเสียงดังและการเฝ้าระวังการได้ยินเป็นส่วนสำคัญในการดูแลและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากเสียงดังในสถานที่ทำงาน นอกจากนี้ การสร้างนโยบายการอนุรักษ์การได้ยินและการเป็นระบบในการเฝ้าระวังเสียงดังและการได้ยินจะเสริมสร้างความมั่นใจและสุขภาพที่ดีให้กับพนักงานในการทำงานในสถานที่ทำงานของตนในระยะยาว