วิธีการป้องกันเสียงรบกวนจากพื้นที่การผลิตหรือโรงงานใหม่
"การป้องกันเสียงรบกวนจากพื้นที่การผลิตหรือโรงงานใหม่ มีแนวทางที่สำคัญ ได้แก่ 1. การวางผังเครื่องจักร: เลือกตำแหน่งและระยะห่างที่เหมาะสมเพื่อลดผลกระทบทางเสียงและประหยัดงบประมาณ 2. การแก้ไขที่แหล่งกำเนิดเสียง: การปรับปรุงชิ้นส่วนการทำงานของเครื่องจักรหรือ การออกแบบตู้ครอบลดเสียง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดเสียง 3. การแก้ไขที่ทางผ่านเสียง: การสร้างผนังกันเสียงโดยติดตั้งวัสดุดูดกลืนเสียงในอาคารเป็นวิธีที่ใช้เพื่อแก้ไขเสียงที่มาจากทางผ่านเสียง"
กรณีศึกษาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง...
โรงงานอุตสาหกรรมมีโครงการจะเพิ่มกำลังการผลิต โดยการติดตั้งเครื่องจักรใหม่ในอาคารผลิตเดิม เนื่องจากอาคารเดิมยังพื้นที่ว่างอยู่อีกพอสมควร แต่คณะทำงานที่เกี่ยวข้องประเมินว่า เมื่อเครื่องจักรใหม่มีการใช้งานจริงน่าจะมีปัญหาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงจากชุมชนที่พักอาศัยที่อยู่ติดกับรั้วโรงงานที่ห่างกันประมาณ 20 เมตร
จากกรณีดังกล่าว NTi ขอสรุปแนวทางการรับมือหรือป้องกันเสียงรบกวนจากพื้นที่การผลิตหรือโรงงานใหม่ ดังนี้
วิธีที่ 1: การวางผังเครื่องจักร
การเลือกตำแหน่งและระยะห่างในการวางผังเครื่องจักรที่มีเสียงดัง เพื่อให้เหมาะสมและลดผลกระทบทางเสียงต่อผู้ใช้หรือบริเวณใกล้เคียงเครื่องจักร เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ไม่เพียงแต่จะช่วยลดปัญหาเสียง แต่ยังช่วยประหยัดงบประมาณในการควบคุมเสียง ซึ่งการวางผังเครื่องจักรสามารถทำควบคู่ไปกับ การทำตัวแบบจำลองคณิตศาสตร์ด้านเสียง (Noise Simulation) เพื่อเลือกตำแหน่งวางเครื่องจักรที่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนหรือมลพิษทางเสียงน้อยที่สุด เมื่อมั่นใจแล้วว่าการวางผังเครื่องจักรสามารถลดผลกระทบหรือปัญหาเสียงนอกโรงงานได้จริง จึงค่อยดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรตามผังที่กำหนดไว้
วิธีที่ 2: การแก้ไขที่แหล่งกำเนิดหรือ Noise Source
หากการวางผังโรงงานไม่สามารถทำได้ หรือทำได้แต่ไม่ช่วยในการจัดการเรื่องเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ การควบคุมเสียงที่แหล่งกำเนิดจึงควรพิจารณาเป็นลำดับแรก เนื่องจากวิธีนี้จะให้ผลในการลดเสียงได้ดีที่สุด เช่น การปรับปรุง ดัดแปลง ชิ้นส่วนการทำงานของเครื่องจักรให้ปราศจากความสั่นสะเทือน หรือมีชิ้นส่วนกระทบกันน้อยที่สุด (Machine Modification) หรือการเปลี่ยนความถี่เสียงจากการทำงานของเครื่องจักร (Frequency Shift) หากไม่สามารถทำได้ การออกแบบและติดตั้งตู้ครอบลดเสียงหรือห้องกันเสียงสำหรับเครื่องจักรที่มีเสียงดัง ก็เป็นการลดเสียงที่ได้ผลดีเป็นลำดับแรก
วิธีที่ 3: การแก้ไขที่ทางผ่านเสียง
ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขที่แหล่งกำเนิดเสียงได้โดยตรง อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขในการใช้งานเครื่องจักร อาจจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการแก้ไขที่ทางผ่านเสียง ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การสร้างผนังกันเสียงในอาคาร ผนังกันเสียงนอกอาคาร การติดตั้งวัสดุดูดกลืนเสียงที่ผนังอาคารด้านบน
ทัศนคติทางวิศวกรรมในการลดเสียงที่เกิดจากเครื่องจักรหรือรอบ ๆเครื่องจักรที่สามารถกระทำได้อาจไม่ได้ผลมากเท่ากับการลดเสียงที่แหล่งกำเนิดโดยตรง แต่หากมีการเลือกใช้วัสดุและคำนวณทางวิศวกรรมด้านเสียงและความสั่นสะเทือนอย่างถูกต้องเหมาะสมได้มาช่วยในกระบวนการออกแบบ อาจลดเสียงได้มากกว่า 10 เดซิเบลเอ หรือต่ำกว่ามาตรฐานค่าระดับเสียงรบกวนและเหตุรำคาญทางเสียง ผลลัพธ์จะทำให้โรงงานและชุมชนนอกโรงงานสามารถร่วมกันอย่างยั่งยืนและมั่นคงได้
การที่โรงงานและชุมชนสามารถร่วมกันอย่างยั่งยืนนั้น เป็นผลมาจากการลดระดับเสียงรบกวนและเหตุรำคาญทางเสียงที่มาจากการทำงานของเครื่องจักรและรอบๆเครื่องจักรที่สามารถกระทำได้ โดยการใช้วัสดุและการคำนวณทางวิศวกรรมด้านเสียงและความสั่นสะเทือนที่ถูกต้องเหมาะสมในกระบวนการออกแบบ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับทั้งโรงงานและชุมชนนอกโรงงาน