ความรู้ >> เหตุรำคาญทางเสียง
KNOWLEDGE
ความรู้

เหตุรำคาญทางเสียง | Newtech Insulation

เหตุรำคาญทางเสียง คือ เสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญ หรือก่อให้เกิดความไม่ปกติสุขในการดำเนินชีวิต “เหตุรำคาญจากเสียงรบกวน” สามารถแบ่งออกตามจุดที่ได้รับผลกระทบทางเสียง ดังนี้ เสียงในโรงงานอุตสาหกรรม และ เสียงนอกโรงงานอุตสาหกรรม”

1. เสียงในโรงงานอุตสาหกรรม มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ

1.1 การรับสัมผัสเสียงของพนักงานหรือลูกจ้าง 8 ชั่วโมงทำงานต่อวัน ต้องไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ

1.2 การรับเสียงสูงสุดในแต่ละวัน (Lmax) ต้องไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ

1.3 ห้ามเข้าพื้นที่ที่มีระดับเสียงเกินกว่า 140 เดซิเบล

2. เสียงนอกโรงงาน มีปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ

2.1 หากค่าระดับการรบกวนเกินกว่า 10 เดซิเบลเอ ให้ถือว่าเป็นเสียงรบกวน หรือค่าระดับการรบกวน = ระดับเสียงขณะมีการรบกวน - ระดับเสียงพื้นฐาน แต่จาการแก้ปัญหาในชีวิตจริง NTi กลับพบว่า แม้เสียงไม่เกิน 10 เดซิเบลเอ ตามกฎหมายกำหนด เช่น ประมาณ 5 เดซิเบลเอ ก็ทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับเสียงและกลายเป็นร้องเรียนได้แล้ว จนเป็นที่มาของวลี “ไม่ต้องเอาตัวเลขมาคุย”

- เมื่อเสียงรบกวนเกินกว่า 10 เดซิเบลเอ ผู้ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้ โดยเจ้าของแหล่งกำเนิดเสียงมีโทษ ได้แก่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- เมื่อมีเหตุรำคาญจากเสียงรบกวน ซึ่งเสียงดังกล่าวทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ผู้ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนได้ โดยสามารถใช้ข้อกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 25 การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีโทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- เสียงที่มีความถี่ใดความถี่หนึ่งแหลมขึ้นมาเป็นพิเศษ (Tonal Noise) เช่น เสียงแอร์คอมเพรสเซอร์ไม่จำเป็นต้องถึง 10 เดซิเบลเอ ก็สามารถก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับเสียงได้