ความรู้ >> เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับตู้หรือห้องกันเสียง
KNOWLEDGE
ความรู้

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับตู้หรือห้องกันเสียงสำหรับทดสอบอุปกรณ์

"เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับตู้หรือห้องกันเสียงสำหรับทดสอบอุปกรณ์ 1. เน้นราคาถูก โดยไม่คำนึงถึงความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของเสียงและกฎของมวล 2. วัดประสิทธิภาพระดับความดันเสียงเฉลี่ยอย่างเดียว (LAeq) อาจทำให้ละเลยเสียงที่มีลักษณะ pure tone หรือ single frequency ที่สร้างความรำคาญหรือการรบกวน 3. มาตรฐานการทดสอบ (Sound Insulation Performance) ควรทำตามมาตรฐานการทดสอบที่ผู้ว่าจ้างต้องการอ้างอิง เช่น JIS, ISO หรือ ASTM เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นไปตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง"

สถานประกอบกิจการหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าหรืออุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจมีความจำเป็นต้องนำอุปกรณ์หรือสินค้าบางรายการไปทดสอบค่าระดับเสียงก่อนที่จะมีการส่งมอบสินค้าให้กับทางลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศ หรือที่เราเรียกกันว่า “แอร์” จะมีอุปกรณ์บางรายการที่ต้องมีรายงานคุณสมบัติทางเสียงส่งมอบไปกับสินค้าด้วย โดยมากจะแสดงค่าระดับความดันเสียงแยกตามความถี่เสียงตั้งแต่ 63 Hz จนถึง 4000 Hz หรือ 8000 Hz การทำตู้หรือห้องกันเสียงที่ใช้สำหรับทดสอบอุปกรณ์ มักจะมีเรื่องที่เข้าใจผิดอยู่หลักๆอยู่ 3 เรื่อง ดังนี้

1. เน้นราคาถูก เข้าใจผิดว่าถ้าราคาถูกจะได้ทำงานหรือเพราะคิดว่าตู้หรือห้องกันเสียงไม่ต้องมีน้ำหนักมาก หรือความหนามากก็ใช้งานได้ โดยเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้อาจเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการพื้นฐานของเสียง และกฎของมวล หรือ Acoustic Mass Low ซึ่งนับว่าเป็นหลักสำคัญในการลดระดับความดันเสียง ข้อสำคัญเกี่ยวกับกฎของมวลคือ “น้ำหนักของวัสดุที่มากกว่าจะลดเสียงได้ดีกว่าวัสดุที่มีน้ำหนักน้อยกว่า” ดังนั้น การที่เราไปเน้นราคาถูก โดยขาดความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานทางเสียง หรือกฎของมวล ก็อาจทำให้สูญเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ได้ (ได้ตู้กันเสียงที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้จริง)

2. วัดประสิทธิภาพระดับความดันเสียงเฉลี่ยอย่างเดียว (LAeq) โดยไม่ต้องแยกความถี่ เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันบ่อยครั้งว่า มีแค่ค่าระดับความดันเสียงเฉลี่ยอย่างเดียว(LAeq) ก็เพียงพอแล้ว แต่อาจลืมไปว่าอุปกรณ์บางรายการจะมีเสียงที่มีลักษณะ pure tone หรือ single frequency (เสียงเฉพาะความถี่ใดความถี่หนึ่ง) ซึ่งสร้างความรำคาญหรือการรบกวนต่อผู้ใช้งานได้ จึงต้องควบคุมระดับเสียงแต่ละความถี่เสียง ร่วมกับระดับเสียงเฉลี่ยด้วย

3. มาตรฐานการทดสอบ (Sound Insulation Performance) ผู้เกี่ยวข้องอาจเข้าใจผิดว่าผลการทดสอบสามารถทำเองหรือทำอย่างไรก็ได้ให้เสียงผ่านข้อกำหนด แต่ลืมไปว่าผู้ว่าจ้างบางรายอาจต้องการให้มีการทดสอบคุณสมบัติทางเสียงโดยอ้างอิงมาตรฐานการทดสอบเช่น JIS, ISO หรือ ASTM เป็นต้น เพราะฉะนั้นการทดสอบอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนในตู้หรือห้องกันเสียง จะต้องทำตามมาตรฐานการทดสอบที่ผู้ว่าจ้างต้องการด้วย หลังจากที่ได้รับทราบ 3 เรื่องที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับตู้หรือห้องกันเสียงสำหรับทดสอบอุปกรณ์แล้ว เชื่อว่าทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างจะได้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับตู้หรือห้องกันเสียงสำหรับทดสอบอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น ประสบการณ์ที่ทางNTi นำมาแชร์ เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าสามารถทำได้ โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการใช้งานตู้หรือห้องกันเสียงในการทดสอบอุปกรณ์ แนะนำให้ปฏิบัติตามที่ NTi กล่าวมาข้างต้น และข้อสุดท้ายขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นแนวทางช่วยในการตัดสินใจได้