แนวทางแก้ปัญหาเสียงรบกวนนอกโรงงาน
“แนวทางแก้ปัญหาเสียงรบกวนนอกโรงงาน ที่กระทบกับชุมชนหรือผู้รับเสียงนั้น เราจำเป็นที่จะต้อง ทราบค่าระดับการรบกวน, ทราบความถี่เสียงรบกวน, เลือกวัสดุและวิธีการที่จะใช้ควบคุมเสียง, คำนวณหาค่าการลดเสียงของวัสดุและวิธีการที่ใช้, วัดค่าเสียงรบกวนหลังติดตั้งเพื่อประเมินผล การดำเนินการตามลำดับขั้นตอนนี้จะช่วยให้สามารถควบคุมระดับเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อผู้รับผลกระทบจากเสียงรบกวนและชุมชนที่อยุ่ใกล้เคียงโรงงานได้”
การแก้ปัญหาเสียงรบกวนนอกโรงงาน โดยยึดรายละเอียดของการตรวจวัดเสียงรบกวนตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงการรบกวน ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง และระดับเสียงสูงสุดที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2567 มีสาระสำคัญดังนี้
ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน คือ ระดับเสียงที่ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อมในขณะที่ยังไม่เกิดเสียงหรือไม่ได้รับเสียงจากการประกอบกิจการโรงงาน เป็นระดับเสียงเฉลี่ย (LAeq)
เสียงกระแทก คือ เสียงที่เกิดจากการตก ตี เคาะ หรือกระทบของวัตถุหรือลักษณะอื่นใดซึ่งมีระดับเสียงสูงกว่าระดับเสียงทั่วไปในขณะนั้นและเกิดขึ้นในทันทีทันใดและสิ้นสุดลงภายในเวลาน้อยกว่า 1 วินาที (Impulsive Noise) เช่น การตอกเสาเข็ม การปั๊มขึ้นรูปวัสดุ
เสียงแหลมดัง คือ เสียงที่เกิดจากการเบียด เสียด สี เจียร์ หรือขัดวัตถุใด ๆที่เกิดขึ้นในทันทีทันใด เช่น การใช้สว่านไฟฟ้าเจาะเหล็กหรือปูน
เสียงที่มีความสั่นสะเทือน คือ เสียงเครื่องจักรหรือเครื่องมืออื่นที่มีความสั่นสะเทือนเกิดร่วมด้วย เช่น เสียงเครื่องเจาะหิน
ก่อนที่เราจะแก้ปัญหาเสียงรบกวนนอกโรงงานที่กระทบกับชุมชนหรือผู้รับเสียงนั้น เราจำเป็นที่จะต้องทราบ “ค่าระดับการรบกวน” ตามกฎหมายก่อน โดยหากระดับการรบกวนที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่าระดับเสียงรบกวน (10 เดซิเบลเอ) ให้ถือว่าเป็นเสียงรบกวน และ NTi มีแนวทางการแก้ปัญหาเสียงรบกวนนอกโรงงาน มาแนะนำเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเสียงรบกวน ดังนี้
1. ทราบค่าระดับการรบกวน
2. ทราบความถี่เสียงรบกวน
3. เลือกวัสดุและวิธีการที่จะใช้ควบคุมเสียง
4. คำนวณหาค่าการลดเสียงของวัสดุและวิธีการที่ใช้
5. วัดค่าเสียงรบกวนหลังติดตั้งเพื่อประเมินผล