ความรู้ >> เทคนิคการลดอัตราสัมผัสเสียงของพนักงานในพื้นที่คลีนรูม
KNOWLEDGE
ความรู้

เทคนิคการลดอัตราสัมผัสเสียงของพนักงานในพื้นที่คลีนรูม

เทคนิคการลดอัตราสัมผัสเสียงของพนักงานในพื้นที่คลีนรูม สามารถทำได้ ดังนี้ 1) ปิดครอบแหล่งกำเนิดเสียงด้วยวัสดุที่ไม่อมฝุ่นและไม่ก่อให้เกิดฝุ่น (Partial Enclosure) 2) ทำการหมุนเวียนงาน (Job Rotation) ระหว่างพนักงานที่สัมผัสเสียงเกินและไม่เกิน 3) หลีกเลี่ยงการตั้งเครื่องจักรที่มีเสียงดังใกล้ผนังอาคาร กระจก หรือวัสดุที่มีผิวเรียบมัน 4) เลือกใช้ Acoustic Ceiling แทนฝ้าปกติทั่วไป และ 5) หากจำเป็นให้ใช้วัสดุซับเสียงสำหรับห้องคลีนรูมเท่านั้น แต่ราคาจะสูงมาก เป็นต้น”

พื้นที่คลีนรูมในที่นี้หมายถึง พื้นที่การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่พนักงานต้องสวมชุดป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (Antistatic Suit) ตลอดระยะเวลาที่ทำงาน ซึ่งพื้นที่คลีนรูมในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยการรักษาสภาพแวดล้อมที่ไร้ฝุ่นหรือเส้นใยใดๆเพื่อป้องกันการปนเปื้อน พื้นที่นี้มักต้องปราศจากฝุ่นและสารปนเปื้อนที่อาจมีผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีการควบคุมอนุภาคละอองและสารปนเปื้อนให้อยู่ในขีดจำกัดที่กำหนด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

1) ปิดครอบแหล่งกำเนิดเสียงด้วยวัสดุที่ไม่อมฝุ่นและไม่ก่อให้เกิดฝุ่น (Partial Enclosure)

2) ทำการหมุนเวียนงาน (Job Rotation) ระหว่างพนักงานที่สัมผัสเสียงเกินและไม่เกิน

3) หลีกเลี่ยงการตั้งเครื่องจักรที่มีเสียงดังใกล้ผนังอาคาร กระจก หรือวัสดุที่มีผิวเรียบมัน

4) เลือกใช้ Acoustic Ceiling แทนฝ้าปกติทั่วไป

5) หากจำเป็นให้ใช้วัสดุซับเสียงสำหรับห้องคลีนรูมได้ แต่ราคาจะสูงมาก

การควบคุมและรักษาความสะอาดในพื้นที่คลีนรูมมีความสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูงสุดและป้องกันไม่ให้ให้เกิดความเสียหายกับผลิตภัณฑ์