กรณีศึกษา >> ปัญหามลพิษทางเสียงจากอากาศยาน
Case Study
กรณีศึกษา

ปัญหามลพิษทางเสียงจากอากาศยาน

ที่มา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

“งานวิจัยกับการจัดการปัญหากับมลพิษทางเสียงจากอากาศยาน” ได้ถูกจัดทำขึ้นเนื่องจากเสียงเครื่องบินมีผลกระทบต่อผู้รับเสียงและทำให้เกิดความเครียด จากงานวิจัยในยุโรปพบกว่าเมื่อเครียดสะสมจะทำให้มีโอกาสที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งผลกระทบของเสียงเครื่องบินมีทั้งผลกระทบทันทีและผลกระทบในระยะยาว สำหรับกรณีศึกษาของสนามบินสุวรรณภูมินั้นพบว่า ช่วงที่มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA: Environmental Impact Assessment) มีการประเมินเที่ยวบินทั้งหมดต่อวันที่ 642 เที่ยวบิน แต่เมื่อดำเนินการใช้งานสนามบินจริงพบว่ามีเที่ยวบินต่อวันถึง 760 เที่ยวบิน และส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบจากเสียงเครื่องบินทั้งกลางวันและกลางคืนในวงกว้าง (อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้จาลิ้งค์ด้านล่าง)

มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 12 พฤศจิกายน 2549 เห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอมาตรการทางเทคนิค โดยการกำหนดวิธีการบินขึ้น-ลง การปรับเปลี่ยนเส้นทางบินให้มีผลกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุด รวมทั้งการกำหนดประเภทของเครื่องบินให้มีระดับเสียงไม่เกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด สำหรับมาตรการชดเชยผู้ได้รับมลพิษทางเสียง กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดให้ บมจ.ท่าอากาศยานไทย เจรจาซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ระดับเสียง NEF 40 ขึ้นไป กรณีที่ไม่ประสงค์จะขายก็ให้เจรจาจ่ายค่าชดเชยเพื่อปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่อไป นอกจากนี้ยังให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาการออกระเบียบ เพื่อควบคุมประเภทการใช้ที่ดิน ไม่ให้มีสิ่งปลูกสร้างใหม่ที่มีความอ่อนไหวต่อมลพิษทางเสียง พร้อมทั้งเร่งรัดติดตั้งสถานีตรวจวัดระดับเสียงและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกรณีที่จะมีการเพิ่มทางวิ่งโดยเร่งด่วน